หน้าเว็บ

เทคนิคและประโยชน์ของการให้เด็กปั้นดินน้ำมัน





ประโยชน์การปั้นดินน้ำมันสำหรับเด็ก
มาเยสกี้และคนอื่นๆ (Mayesky and others, 1995) กล่าวว่า เด็กๆ จะปั้นอยู่ 2 แบบคือ
1. การปั้นแบบวิเคราะห์ (Analysis) ปั้นโดยการใช้ดินทั้งก้อนแล้วดึงส่วนต่างๆ ย่อยออกมาเป็นแขน ขา เด็กจะมองเห็นสิ่งต่างๆ เป็นส่วนรวมก่อนแล้วจึงเห็นส่วนปลีกย่อยที่หลัง เช่น เห็นต้นไม้หรือนึกถึงต้นไม้ทั้งต้น ต่อมาจึงเห็นส่วนย่อยคือ ดอกไม้ กิ่ง ก้าน
2. การปั้นแบบสังเคราะห์ (Synthesis) คือการปั้นส่วนย่อยๆ ที่ต้องการจนครบแล้วจึงนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นรูปร่างที่สมบูรณ์ เป็นการคิดส่วนย่อยและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างกัน






ส่วนสเชอร์มาชเชอร์ (Schirrmacher, 1998) บอกว่าพัฒนาการทางการปั้นของเด็กแบ่งได้เป็น 4 ขั้นคือ
1. ขั้น “ นี่คืออะไร” อายุ 1 - 2 ปี เด็กจะใช้ประสาทสัมผัสทดสอบคุณสมบัติของดินน้ำมัน เด็กดม ชิม ขยำ กด บี้ ศึกษาดินน้ำมัน
2. ขั้น “ สำรวจและทดสอบดินน้ำมัน” อายุ 2 - 3 ปี เด็กจะใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายสำรวจและทดลองทำเช่น ม้วน จิ้มให้เป็นรู ดึงให้ยืด ตบให้แบน ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง
3. ขั้น “ ดูซิ ฉันทำอะไรได้บ้าง” เด็กอายุ 3 - 4 ปี วัยนี้เด็กเริ่มใช้ความคิดสร้างสรรค์ประกอบกับชิ้นงานที่ทำขึ้นเช่น ใช้มือคลึงดินน้ำมันเป็นเส้นยาวๆ เด็กอาจจะทำเสียงขู่ ฟ่อๆเหมือนงูที่เลื้อยส่งเสียงไปรอบๆ ห้อง
4. ขั้น “ ต้องการสื่ออื่นๆ ประกอบ” เด็ก 4 - 5 ปี วัยนี้สามารถเพิ่มรายละเอียดโดยการนำสื่อและอุปกรณ์ประกอบ เช่น มีไม้ไอศกรีม กระดุม ไม้จิ้มฟันและสามารถตั้งชื่อชิ้นงานและรู้สึกภาคภูมิใจในชิ้นงานของตัวเอง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น